ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลทั่วไป
          องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ มีพื้นที่ในความรับผิดชอบคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 12.97 ตารางกิโลเมตร  หรือ 8,106 ไร่ 
สภาพภูมิประเทศ
          สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์  มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  มีคลองธรรมชาติ คลองส่งน้ำไหลผ่านหลายสาย  มีผลทำให้พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์  เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
เขตการปกครอง   องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
                   หมู่ที่  ๑  บ้านศาลานกกระจอก
                   หมู่ที่  ๒  บ้านคลองมหาสวัสดิ์
                   หมู่ที่  ๓  บ้านศาลาดิน
                   หมู่ที่  ๔  บ้านคลองโยง
ประชากร  
          มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 8,๘๘๔ คน
การประกอบอาชีพ
          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ได้แก่ การทำนา รองลงมา คือ รับจ้าง ค้าขาย รับราชการ อาชีพถัดมาเป็นการประกอบอาชีพการทำสวน ได้แก่ สวนผลไม้ (มะม่วง มะพร้าว กล้วย มะนาว มะละกอ) สวนผัก สวนกล้วยไม้ นาบัว และไม้ดอกไม้ประดับ บางส่วนประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงปลา

ข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬาชุมชน ในพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์

ลำดับหมู่บ้าน จำนวนลานกีฬา/สนามกีฬา (แห่ง) พร้อมให้บริการ ไม่พร้อมให้บริการ หมายเหตุ
1     บ้านศาลานกกระจอก 1 1 -
2     บ้านคลองมหาสวัสดิ์ 1 1 -
3     บ้านศาลาดิน 1 1 -
4     บ้านคลองโยง 2 2 -
รวม
5 5 -

- จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนในตำบลมหาสวัสดิ์ ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน
- จำนวนลานกีฬาที่พร้อมใช้งานทั้งหมด 5 แห่ง
- คิดเป็น สนามกีฬา 5 แห่ง x 100 = ร้อยละ 125.00
        จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 4 หมู่บ้าน

หมู่ 1 บ้านศาลานกกระจอก
- สนามกีฬาโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์

หมู่ 2 บ้านคลองมหาสวัสดิ์
- ลานเครื่องออกกำลังกาย หมู่ 2

หมู่ 3 บ้านศาลาดิน
- ลานกีฬาอเนกประสงค์หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา 1

หมู่ 4 บ้านคลองโยง
- สนามกีฬาโรงเรียนบ้านคลองโยง
- สนามกีฬาหมู่บ้านพฤกษา 4

ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์
องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ ๖ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1.    การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว
              1.1  การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 
              1.2  พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว 
              
2.    การดำเนินงานด้านการบริการสาธารณะ
               2.1  การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคต่างๆ  
               2.2  การพัฒนาแหล่งน้ำ คูคลอง แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร
 
3.    การดำเนินงานด้านการพัฒนาด้านสังคม
               3.1  ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
               3.2  ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการสาธารณสุข
               3.3  การป้องกัน และรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
               3.4  ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณภัย
               3.5  การป้องกัน และแก้ปัญหายาเสพติด
               3.6  ส่งเสริมสนับสนุนงานสวัสดิการ และสังคมสงเคราะห์ 
             
4.    การดำเนินงานด้านการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม
               4.1 พัฒนาการศึกษา และส่งเสริมระบบการศึกษา
               4.2    ส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา และการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
5.    การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ
              5.1  พัฒนาส่งเสริม และอบรมอาชีพให้แก่ประชาชน
              5.2  ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตสินค้าทางการเกษตร ปลอดภัยจากสารพิษ

6.    การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการที่ดี
              6.1  พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

สอบถาม